Blog Post

Thanhphong Blog > News > สุขภาพ > กรดไหลย้อนในเด็ก เจ้าตัวเล็กก็เป็นได้
Happy father with baby in baby carrier at home

กรดไหลย้อนในเด็ก เจ้าตัวเล็กก็เป็นได้

โรคในเด็กทารกนั้นมีมากมาย เช่น โรคจากเชื้อไวรัสโรต้า. ผื่นชนิดต่างๆ. แผลบีซีจี และอื่นๆ แต่โรคหรืออาการเหล่านี้มักจะอยู่ในเด็กแรกเกิด จนถึงไม่กี่ขวบ จากนั้นความเสี่ยงก็จะลดน้อยลง ในขณะที่มีอีกโรคที่เราอาจไม่คิดว่าเด็กๆ ก็สามารถเป็นได้ นั่นคือกรดไหลย้อน

ภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะทราบได้จากการที่ทารกมีอาการแหวะนม ซึ่งปกติทารกในขวบปีแรก อาจจะมีการแหวะนมเพียงนิดหน่อยก็คงไม่ต้องกังวล แต่หากว่าลูกมีอาการแหวะนมที่ผิดปกติ เช่น แหวะนมออกมาเยอะมากหรือแหวะนมบ่อย อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีภาวะกรดไหลย้อน ที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากการแหวะนม เช่น ปอดอักเสบแบบเป็น ๆ หาย ๆ, การไอเรื้องรัง, ไอเสียงดังหรือหายใจเสียงดังมาก ๆ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร ในเด็กเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร (ทำหน้าที่เปิดให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหาร และปิดเมื่อกินอาหารเสร็จ) ยังไม่แข็งแรง เมื่อลูกอิ่มนมเสร็จแล้วหูรูส่วนปลายหลอดอาหารปิดไม่สนิท จึงทำให้นมหรืออาหารรวมทั้งกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา ทำให้ลูกมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

 อาการของทารกที่มีภาวะกรดไหลย้อน

  • แหวะนมหรืออาเจียนบ่อยและรุนแรง
  • ปฏิเสธการป้อนนมหรืออาหาร
  • ลูกแสดงความรู้สึกหงุดหงิดง่ายหรือร้องกวนมากกว่าปกติ มักจะเป็นหลังการป้อนนมหรืออาหาร
  • น้ำหนักลดหรือไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  • ไอบ่อย ไอเรื้อรัง และหายใจเสียงดังหรือหายใจลำบาก
  • ลูกมีอาการกลั้นหายใจหรือไม่หายใจในช่วงที่เกิดภาวะกรดไหลย้อน
Baby girl during regular visit at pediatrician.

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เลือดจาง อาเจียน เป็นเลือด เสียงแหบ ปอดติดเชื้อบ่อย ๆ หรือหอบหืด โดยที่ไม่มีอาการแหวะนมเลย หากลูกมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ ควรปรึกษาคุณหมอโรคทางเดินอาหาร เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องต่อไป

ป้องกันกรดไหลย้อนให้ลูกได้ง่ายนิดเดียว

  • ให้นมมื้อละน้อย แต่บ่อยขึ้น
  • ปรับท่าการให้นมลูก คือต้องยกหัวให้สูงขึ้นกว่าปกติ
  • อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังกินนมจะช่วยลดภาวะกรดไหลย้อนได้
  • ให้ลูกนอนหัวสูงสัก 15-30 องศา และตะแคงซ้าย เพราะกระเพาะอาหารอยู่ค่อนทางซ้ายจะได้อยู่ต่ำกว่าหลอดอาหาร เพื่อกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ โดยใช้หมอนยันตัวลูกไว้ไม่ให้พลิกมานอนหงาย
  • หมั่นสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น หอบหืด ไอเสียงดัง ไอเรื้อรัง หรือว่ามีปอดอักเสบบ่อย ๆ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *