Blog Post

Thanhphong Blog > News > บ้านและสวน > เครื่องปรับอากาศกรองพิษบุหรี่ได้หรือไม่?
Male artist sculptor artisan smokes cigarette in the workshop.

เครื่องปรับอากาศกรองพิษบุหรี่ได้หรือไม่?

สิงห์นักสูบทั้งหลายอาจเคยสงสัยว่า ถ้าเราอยากสูบบุหรี่แต่ก็กรงใจคนที่บ้าน แต่หากภายในบ้านเรามีเครื่องปรับอากาษจะสามารถปกป้องคนที่เรารักได้หรือไม่ ก็คงต้องบอกข่าวร้ายเลยว่า ไม่ได้

ส่วนเหตุผล ก็มีผู้เชี่ยวชาญออกมาอธิบายดังนี้

เครื่องปรับอากาศ ไม่สามารถฟอกสารพิษจากควันบุหรี่ได้ เพราะควันบุหรี่มีพิษถึง 4,000 ชนิด

บทความที่เกี่ยวข้อง:

ทำไมเครื่องปรับอากาศไม่สามารถกรองพิษบุหรี่ได้?

ศ.น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศที่โฆษณาว่าสามารถช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สูบได้อย่างปลอดภัยขึ้น โดยเครื่องปรับอากาศจะดูดซับสารพิษจากควันบุหรี่ และชี้แนะว่าทำให้ผู้สูบบุหรี่เป็นที่โรคภูมิแพ้สูบบุหรี่ได้ตามปกตินั้น ในความเป็นจริงแล้วผู้สูบบุหรี่ทุกคนจะได้รับสารพิษจากบุหรี่โดยตรงจากการอัดควันบุหรี่เข้าปอด หลังจากนั้นจึงพ่นควันออกจากปอด

Bad habit. A smoking cigarette in a man's hand. The concept of the dangers of smoking and tobacco consumption with copy space for text.

ถึงแม้ว่าจะสูบบุหรี่อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงใด ผู้สูบบุหรี่ก็จะยังคงได้รับสารพิษจากบุหรี่อยู่นั่นเอง เพราะปัจจุบันยังไม่มีเครื่องปรับอากาศชนิดใดที่มีประสิทธิภาพดีพอในการกรองสารพิษที่เป็นก๊าซ ซึ่งเป็นสารพิษส่วนใหญ่ที่อยู่ในควันบุหรี่ที่มีมากถึง 4,000 ชนิดได้ แต่จะกรองได้เพียงสารที่เป็นอนุภาคบางส่วนเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศต่างๆ มีการกำหนดสถานที่สาธารณะต่างๆ ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะในสถานที่ที่ติดเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

“ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์ทางด้านโรคปอด ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว จะต้องเลิกสูบบุหรี่โดยเร็วที่สุด เพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพอกสูงกว่าผู้สูบทั่วๆ ไปมาก นอกเหนือไปจากโรคมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสำหรับผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง จะมีอาการเริ่มแรก คือ ไอเรื้อรัง เป็นหวัดง่ายหายช้า หลอดลมอักเสบบ่อย ซึ่งถ้ายังไม่หยุดสูบบุหรี่อาการจะรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก และท้ายที่สุด ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานอะไรได้เลย แม้แต่ภารกิจประจำวัน ต้องนอนอยู่เฉยๆ และต้องให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต”

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *