Blog Post

Thanhphong Blog > News > ประเด็นร้อน > 4 โรคอันตรายในหน้าร้อน
An ill woman drinks water and consuming a pill while lying on the bed in the bedroom.

4 โรคอันตรายในหน้าร้อน

เดือนเมษายนเป็นเดือนที่อากาศร้อนจัดที่สุดของปีสำหรับประเทศไทย นอกจากอากาศที่ร้อนแล้ว โรคที่มากับความร้อนก็ยังมีได้เช่นกัน โรคที่มากับฤดูร้อนที่มักจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ โรคที่เกี่ยวกับอาหารและน้ำดื่ม เนื่องจากอากาศร้อนทำให้ของเสียได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผลไม้ แม้แต่น้ำดื่ม เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ล้วนชื่นชอบอากาศที่ร้อน ทำให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคต่างๆ ที่มักพบในหน้าร้อน

อาหารเป็นพิษ 

ซึ่งเป็นโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยมาก เนื่องจากที่มีสารพิษ (toxin) ที่สร้างจากแบคทีเรียตกค้างอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาดพอ หรือสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารบูดเสีย ทำให้เกิดปัญหาท้องเสียได้ ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นจะถ่ายเป็นน้ำไม่มีมูกเลือด ไม่มีไข้ มักจะหายได้เองหากเป็นไม่มาก แต่ถ้าเป็นมากก็อาจต้องได้รับน้ำเกลือเสริม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการดื่ม หรือการให้ทางเส้นเลือดแล้วแต่ความรุนแรง แต่โดยทั่วไปโรคลักษณะนี้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ เพียงแต่ประคับประคองไม่ให้ภาวะน้ำเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติเท่านั้น

Pregnancy lost. Abortion high. Tormented suffering tanned beautiful young Asian woman hold hands on stomach at home interior living room. Injuries Poor health Illness concept. Cool offer Banner

อหิวาตกโรค 

ในสมัยก่อนเรียกว่า “โรคห่าต์” โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้ออหิวาต์ จะไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก แต่ในรายที่ติดเชื้อรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่มีชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ เนื่องจากมีการสูญเสียของน้ำและเกลือแร่ในปริมาณมากทางอุจจาระ มีส่วนน้อยที่เสียไปทางอาเจียน เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ เชื้อ Vibrio Cholerae ชนิด 0:1 หรือ 0:139 การติดต่อเป็นได้โดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อเข้าไป เชื้อดังกล่าวเจริญเติบโตได้ดีในอาหารบางชนิด เช่น ข้าว แต่จะโตได้ไม่ดีในอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรด และถูกฆ่าได้ด้วยความร้อน

การรักษา คือ การทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปกับการถ่ายอุจจาระและการอาเจียน อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือ แต่หากเป็นรุนแรงต้องให้ทางเส้นเลือด การใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่แล้วให้ในกลุ่มของเตตร้าไซคลิน ซึ่งจะทำให้ลดระยะเวลาของอาการให้สั้นลงได้ สำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูง การป้องกันอาจใช้วัคซีนช่วย แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม

A young mother looks after her sick daughter in the bedroom.

ไข้ไทฟอยด์ 

การติดต่อมักจะเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารหรือน้ำดื่ม ซึ่งไข้ไทฟอยด์จะมีอาการแบบเฉียบพลัน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจถึงกับเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อ Samonella typhi อาการของโรคจะมีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว คลื่นไส้ อาจมีหัวใจเต้นช้าลง (โดยทั่วไปแล้วเวลามีไข้จะเต้นเร็วขึ้น) หากให้แพทย์ตรวจอาจพบมีม้ามโต บริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย ต้องใช้การตรวจเลือดยืนยันว่าเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นโรคนี้จริง การรักษาจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม การป้องกันสามารถทำได้โดยการใช้วัคซีนซึ่งมีทั้งในรูปของการรับประทานหรือฉีด แต่การป้องกันไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม

โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ 

โดยทั่วไปจะติดต่อผ่านทางคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง โดยการปนเปื้อนไปกันน้ำ น้ำแข็ง ผลไม้ หรืออาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการหุงต้ม โดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นคือ จะมีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดไม่สบายภายในท้อง จากนั้น 2-3 วันก็จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง คนที่เป็นโรคอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเป็นเวลา 1-2 อาทิตย์ หรือในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการนานหลายเดือนได้ เชื้อไวรัสตับอักเสบเอนี้จะตายเมื่อโดนความร้อน โดยการต้มหรือหุงที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส (185 องศาฟาเรนไฮต์) เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งนาที การป้องกันสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดยังคงเป็นการระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม

ดังนั้นข้อควรระวังเกี่ยวกับอาหารและน้ำดื่มในหน้าร้อนนี้ คือ ไม่ควรซื้ออาหารที่ไม่แน่ใจในความสะอาด ไม่เห็นว่าอาหารได้ถูกปรุงเสร็จใหม่ๆ ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำดื่มที่ต้มแล้ว หรือผ่านขบวนการกรองหรือฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ไม่รับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม สรุปคือ ควรรับประทานอาหารที่สุกสะอาด

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *