เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาขับรถไปต่างจังหวัด เรามักจะรู้สึกว่าขากลับมันเร็วมาก จนดูเหมือนว่าจะเร็วกว่าขามาซะอีก ถึงแม้ระยะทางของทั้งสองขาจะแทบไม่แตกต่างกัน ในบทความนี้ เราจะสำรวจและตอบปริศนานี้กัน
Returning trip effect คืออะไร
“Returning trip effect” เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้คนรู้สึกว่าการขับรถขาไปใช้เวลานานกว่าการขับรถขากลับ สาเหตุของปรากฏการณ์นี้มาจาก “จิต” ของมนุษย์เองที่มีการรับรู้เวลาไม่ดีนัก แต่ละวันมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เวลาถูกกระทบโดยหลายปัจจัย เช่น เหตุการณ์รอบตัว, อารมณ์, หรือกิจกรรมที่กำลังทำอยู่
บางวันคนอาจรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก ในขณะที่ในวันอื่น ๆ อาจรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าลง ปรากฏการณ์นี้ก็มีผลกระทบต่อการรับรู้เวลาขณะขับรถ ทำให้คนรู้สึกว่าขากลับใช้เวลาน้อยกว่าขาไป
“Returning trip effect” มีหลายสาเหตุที่สามารถอธิบายได้ตามหลักจิตวิทยา หนึ่งในนั้นคือ “การใส่ใจกับเวลา” การให้ความสนใจกับเวลาที่ผ่านไปทำให้รู้สึกเหมือนใช้เวลานานขึ้น การเดินทางไปที่ไม่คุ้นเคยมีผลให้เกิดความตื่นเต้นและกระตือรือร้น ทำให้รู้สึกเวลาผ่านไปเชื่องช้า ในทางกลับกัน การให้ความสนใจต่ำลงทำให้รู้สึกขากลับเร็วกว่า
สาเหตุที่สองคือความคาดหวังที่ต่ำลงในการเดินทางกลับ ในการเดินทางไปจุดหมายที่ไม่คุ้นเคย มักมีความคาดหวังสูงในการสัมผัสสิ่งใหม่ การคาดหวังนี้ทำให้รู้สึกเวลาผ่านไปนานขึ้น เหมือนกับเวลาที่เรารออะไรซักอย่าง แค่ 5 นาทีก็รู้สึกนานแล้ว ในทางกลับกัน เมื่อมีประสบการณ์ที่จุดหมายแล้ว ความคาดหวังลดลง เราเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหมดแล้ว ทำให้รู้สึกขากลับเร็วกว่านั่นเอง
นั่นคือคำตอบที่จะช่วยอธิบายว่าทำไมการขับรถขากลับถึงรู้สึกเร็วกว่าขาไป ต่างจากความรู้สึกของเราๆ นั่นเอง